เครื่องเสียงจัดงาน มีองค์ประกอบมากมายในการดำรงอยู่ของภูมิภาคอุษาคเนย์ ภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน ทั้งในเรื่องของ อาหารการกิน อาชีพ การอยู่อาศัย รวมไปแม้กระทั่ง "อารมณ์" ซึ่ง อารมณ์ ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่อยู่เหนือเหตุผลทั้งหลายทั้งปวง ของมวลมนุษยชาติเลย ก็ว่าได้
แน่นอนว่า ในอุษาคเนย์ มีวัฒนธรรมร่วมกันในเรื่องศิลปะ มีความเหมือนและคล้ายกันในหลายประเพณี จะเรียกว่า มีอารมณ์ร่วมกันในความบันเทิง ก็ไม่ผิด ซึ่งอารมณ์เหล่านั้นถูกขับเคลื่อนและผลักดันออกมา ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า
“ระบบเสียง” นั่นเอง
ระบบเสียงสำหรับจัดงานรื่นเริง
ระบบเสียงสำหรับจัดงานรื่นเริง
ผมมีโอกาส พบปะผู้คนจำนวนไม่น้อย จากภูมิภาคนี้
แต่จะเริ่มต้น ที่ประเทศเพื่อนบ้าน ทางขวา 2นาฬิกา กันก่อนครับ...
ค่ำวันหนึ่ง ในสะหวันนะเขด เมืองไดโนเสาร์ แห่ง สปป.ลาว
ผมได้รับเชิญ ให้มาร่วมงานดอง (งานแต่งงาน) ที่จัดขึ้นภายในฮอลล์แห่งหนึ่ง ใจกลางเมือง
เมื่อไปถึง สิ่งแรกที่สังเกตเห็นคือ Land cruiser Prado เต็มบนลานจอด ประหนึ่งอยู่ในอเมริกา ก็ไม่ปาน
และแขกที่มาร่วมงาน ล้วนแต่งชุดประจำชาติ เต็มยศกันทั้งนั้น ผมมาทราบเอาภายหลังว่า งานนี้ แขกคนสำคัญของคู่บ่าวสาว
มีรายชื่อท่านเจ้าแขวงร่วมอยู่ในนั้นด้วย บอกแล้วจะเชื่อไหมว่า ทุกๆท่านมาเพื่อเต้น "บัดสะโล้ป"
“อารมณ์ร่วม” ของคนทั้งงาน คือการมาเต้น นั่นคือข้อหนึ่ง
อารมณ์ต่อมาที่ผมจะไม่พูดถึง ไม่ได้เลย เพราะมันคือ “อารมณ์ความมันส์” นั่นเองครับ
นึกตามนะครับ คนที่นี่เขาฟังเพลงที่เน้นเสียงเบส หรือเสียงโลว์ มากเป็นพิเศษ
พูดง่ายๆว่า ถ้าเป็นสยามประเทศ ระบบเสียงหลัก เราจะเป็น 4x4 (กลางแหลม 4 ซับ 4)หรือ 8x8 ซึ่งก็ตามขนาดสถานที่ ใช่ไหมครับ..
แต่ไม่ใช่สำหรับที่นี่
“ผมอยากได้แบบตึ้บๆ” “เอาเบสลูกใหญ่ๆ”
เมื่อมองไปหน้าเวที จึงพบเห็นลำโพงSubwooferจำนวนมากมายก่ายกอง ถูกตั้งเรียงรายอยู่เกินเบอร์ไปมาก
ระบบเสียงสำหรับจัดงาน”ในลักษณะนี้
ส่วนใหญ่ลำโพงกลางแหลม จะถูกแขวนไว้ด้านบน เพื่อหลีกเลี่ยงการบดบังเวที
ลำโพงซับวูฟเฟอร์ก็อย่างที่บอก ถูกวางไว้หน้าเวทีเพื่อให้กระแทกหน้าอกเต็มๆ ชัดๆกันไปเลย
แล้วบนเวทีมีอะไร?
ถ้าเป็นงานแต่งในสยามประเทศบ้านเรา พ.ศ.นี้เราจะพบวงดนตรีเล่นสด 3ชิ้น 4ชิ้น หรือเป็นฟูลแบนด์ที่มีกลองชุด กันแทบจะทั้งนั้น
แต่ที่นี่ ยังนิยมเล่นอิเล็กโทนกันอยู่ และอาจจะมีผสมกับกีตาร์อีกสัก1ชิ้น รูปแบบคล้ายแนวลูกทุ่งทางภาคอิสาน เน้นหนักไปทางเพลง ชะ ชะ ช่า (3ช่า) เพราะคืออารมณ์ร่วม แห่งภูมิภาคนี้ยังไงล่ะครับ!!!!
น้อยนักที่จะมีกลอง เบส กีตาร์ คีย์บอร์ด
ดังนั้น ไมโครโฟนที่ใช้บนเวที จึงเน้นหนักไปที่ นักร้อง จำนวนเซ็ตละ 3คน ถ้าไม่อยากเวียนไมค์
ก็ต้องมีอย่างน้อย 4-6ตัว และทิ้งไมค์สายไว้บนขาตั้งไมค์สำหรับมืออิเล็กโทน และมือกีตาร์อีก อย่างละตัว
ฟันธงไปเลยว่า ไมค์ร้องส่วนใหญ่จะนิยมWireless Microphone ไม่ว่ายี่ห้อถูก หรือ แพง เพราะสะดวกคล่องตัวในการรับส่งมือต่อมือ
มีลำโพงมอนิเตอร์ไหม?
มีครับ!! ลำโพงมอนิเตอร์บนเวที หรือWedge monitor มีไว้สำหรับ ส่งเสียงอะไรก็ได้ที่ นักร้องนักดนตรีอยากได้ยิน
ถ้าเป็นงานประเภทนี้ ก็เอาไว้ส่งดนตรี กับเสียงร้องนั่นแหละครับ หากเจ้าภาพมีสตางค์หน่อย ก็จะมีลำโพงมอนิเตอร์บนเวที จำนวนเพียงพอ ต่อนักร้องนักดนตรี4ใบ 5ใบบ้าง แต่ถ้างบประมาณจำกัด มีมอนิเตอร์ 1ใบ หรือ2ใบ แล้วแบ่งกันฟังก็พอทำเนาอยู่
แล้วถ้าลำโพงมอนิเตอร์ “หอน” จะทำยังไง?
อันนี้ไม่ต้องเป็นห่วงครับ ในเครื่องผสมสัญญาณเสียงมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Graphic EQ ใส่ไว้ให้ในขาออกของ ลำโพงทุกใบ
ความถี่ไหนหอน จะมองเห็นทันที แล้วก็ดึงเสียงหอนลงไป
แล้ว Mixer เครื่องผสมเสียงและ แอมป์ เอาไว้ตรงไหน?
อันนี้ก็ อารมณ์ร่วมกัน ของภูมิภาคนี้ ที่ ส่วนใหญ่มักจะวางไว้ข้างๆเวที ซึ่งพอเข้าใจได้ว่า ง่ายดี คนผสมเสียง มิกซ์เสียง ก็ยืนข้างเวทีเลย คุยสื่อสารกับคนบนเวทีได้ง่ายๆ ปรับเปลี่ยนคิวงานได้คล่องตัว ไม่ต้องวางMixerไว้กลางโต๊ะแขก ป้องกันการเกะกะ และเปลืองพื้นที่นั่งด้วย( เก็บพื้นที่ไว้วางโต๊ะเพิ่ม ได้เงินใส่ซองเพิ่มด้วย…อันนี้ผมคิดเอง)
โดยเครื่องผสมเสียงที่ใช้ส่วนใหญ่ จะเป็นรุ่นตามสมัยนิยม นั่นก็คือ Digital mixing console ขนาด 16ช่อง
ซึ่งมีทั้งเอฟเฟคต์เสียงร้อง และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานด้านเสียงครบครัน จบ ครบในตัว
แล้วจำนวนของแอมป์ หรือ Power Ampใช้มากขนาดไหน?
ปกติ ถ้าระบบเสียง 8x8 (กลางแหลม 8ซับ8)แอมป์ก็ข้างละ2ตัว รวมเป็น4 แต่ถ้ามีซับวูฟฟอร์เพิ่มขึ้น ก็อาจจะต้องเพิ่มจำนวนช่องของแอมป์ขึ้นไปอีก ซึ่งก็เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายตามไปด้วย
ทำให้ในปัจจุบัน หลายๆสถานที่ เริ่มหันมาใช้ ลำโพงแอมป์ในตัว หรือ Powered Speaker กันมากขึ้นแล้ว ซึ่งช่วยลดพื้นที่วางแอมป์ และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ตัดแบ่งความถี่ หรือ Speaker Controller หรือ ครอสโอเวอร์ นั่นเอง
หัวค่ำ
แขกเริ่มเข้าประจำตามโต๊ะ มีเครื่องดื่มประจำชาติวางอยู่บนโต๊ะ ทุกโต๊ะ (วัฒนธรรมของ ที่นี่ไม่ใช่ขวดสองขวด แต่เป็นลังๆ ต่อโต๊ะ)
บรรยากาศภายในงาน เต็มไปด้วยความง่ายๆ สบายๆ ไม่ต้องมีออร์กาไนเซอร์ ผมแอบเห็นช่างเสียง นอกจากจะผสมเสียงแล้ว ยังทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟแสงสีให้กับเวทีอีกด้วย
ลำดับพิธีการ เต็มไปด้วยความยืดหยุ่น คิวเพลง ไม่มีตายตัว ขึ้นอยู่กับแขกคนสำคัญที่มา
เช่น เพื่อนเจ้าบ่าวอยากร้องคาราโอเกะ ก็ค้นหาและเปิดจากโปรแกรมคาราโอเกะง่ายๆ
เมื่อแขกผู้ใหญ่กล่าวเปิดงานเสร็จ ก็ได้เวลาแห่งการฟ้อนรำ
โดยแขกผู้ใหญ่รำเปิดฟลอร์ ด้วยเพลง ชะ ชะ ช่า รวมไปถึง เต้น บัดสะโล้ปในลำดับถัดมา
ที่ต้องบอกว่า ไม่ว่าจะงานเล็ก งานใหญ่ ไม่ว่าผู้คนจะมาจากที่ใด เมื่อรวมอยู่ในงานแล้ว
(โดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่ที่แต่งกายด้วยชุดประจำชาติ)
ทุกคนจะเว้นระยะ เหมือนจัดแถว แล้วออกลีลา ยกแขน ยกขา พร้อมเพรียงกันเหมือนอยู่ในคลาสเรียนเดียวกัน ยังไงยังงั้นเลย….
เป็นภาพที่หาดูได้ยากมากในประเทศอื่น
….ยังมีอีกนะครับ วัฒนธรรมของที่นี่
เมื่อช่วงท้ายของงานเลี้ยงดำเนินมาถึง จะมีกิจกรรมเปิดเพลงโดย กลุ่มDJ ซึ่งขนเอาเพลง EDM เพลงเต้นทั้งหลาย ตามสมัยนิยม มาเปิดละลายพฤติกรรมจากที่ติดมาจากเมื่อช่วงหัวค่ำ ให้เหมือนเป็นคนละงานไปเลย …OMG..
ซึ้งเน้นเสียงซับเบสชนิดจุกไปถึงทวารทั้งเก้าเลยทีเดียว ผมเข้าใจแล้วล่ะว่า
ทำไมต้องขนลำโพงซับวูฟเฟอร์มาเยอะ สมัยก่อนสยามประเทศก็เคยนิยมแบบนี้….
สรุปแล้ว
ระบบเสียงสำหรับจัดงาน มี ลำโพงหลัก นิยมแขวน ไม่ว่าจะ 4x4 หรือ 8x8 เน้น ไม่ว่าจะเป็นลำโพงที่มีแอมป์ในตัว(Powered Speaker) หรือแบบไม่มีแอมป์ในตัว (Passive Speaker)
ลำโพงซับวูฟเฟอร์เน้นล้นๆ อัดให้จุก ยืนพื้นด้วยเพลงเต้นรำ ชะชะช่า
และปิดท้ายด้วย EDM จาก DJ จอมขมังเวทย์
นี่แค่ระบบเสียงสำหรับจัดงานแต่งนะ….แล้วงานคอนเสิร์ต จะเป็นยังไง?
ไว้พบกันคราวหน้า… เอ๊ะ ต้องเรียกว่า คราวหน้ารึคราวหลัง นั่นแหละ….ไว้พบกันครับ